ลูกเสือไทยคนแรกคือใคร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความ
เห็นพ้องกันกับ บี.พี. จึงได้ทรงเริ่มตั้งกองลูกเสือขึ้น หลังจากตั้งกองเสือเสือป่าได้เพียงสองเดือน คือ
เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง บัดนี้เป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย พระราชทานคติพจน์ให้แก่คณะลูกเสือแห่ชาติว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์”
ลูกเสือคนแรกคือ “นายชัพพ์ บุนนาค” เพราะเป็นผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือได้เป็นคนแรก จึงมีพระราชโองการว่า
“อ้ายชัพพ์เองเป็นลูกเสือแล้ว”
นายชัพน์ บุนนาค หรือ นายลิขิต สารสนอง เป็นบุตร นายฉ่า บุนนาค มารดาชื่อ ทองสุก เกิด พ.ศ.2438 มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน มีน้องสาวชื่อ ชิ้ม (เกิด พ.ศ.2440) เป็นภรรยาพระดุลยกรณ์พิทารณ์ (เชิด บุนนาค) น้องชายชื่อ ชิวห์ เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 และนายเฉียบ บุนนาค (เกิด พ.ศ.2450) เป็นข้าราชการ กรมรถไฟ
ลูกเสือไทยคนแรกคือใคร คือนายชัพน์ บุญนาค เพราะสามารถกล่าวคำปฏิญาณได้เป็นคนแรก
ลูกเสือไทยคนแรกคือใคร เมื่อยังเยาว์ คุณหญิงไกรเพชรรัตนสงคราม (ฟอง บุนนาค) ผู้เป็นย่า ได้นำตัวเข้าถวายเป็นมหาดเล็ก ในรัชกาลที่ 6 ได้ศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรก เริ่มที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เมื่อ พ.ศ.2454 อาจารย์ใหญ่ได้นำนายชัพน์ บุนนาค ซึ่งแต่งเครื่องแบบลูกเสือ ใหม่ ไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ทรงโปรดฯ ให้นายชัพน์กล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือ 3 ข้อ ถวายต่อพระพักตร์ และรับสั่งว่า ในนามของข้า ผู้ให้กำเนิดลูกเสือ ข้ารับเจ้าเป็นลูกเสือไทยคนแรก ตั้งแต่บัดนี้ไป เหตุการณ์นี้นับว่าเป็นเกียรติประวัติของนายชัพน์และพี่ น้อง ในตระกูลบุนนาคที่รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุด บรรดาเพื่อนทั้งหลายก็พลอยตื่นเต้นด้วย เพราะขณะนั้นทั้งโรงเรียนหรือจะกล่าวทั้งประเทศไทย ก็ยังไม่มีใครได้แต่งเครื่องแบบลูกเสือเช่นนี้ คงมีแต่นายชัพน์เพียงคนเดียวเท่านั้น หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมบริบูรณ์แล้ว นายชัพน์ได้เข้ารับราชการในกรมมหาดเล็ก แผนกตั้งเครื่อง มียศเป็นมหาดเล็กวิเศษ พ.ศ.2457 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นนายรองพลพ่าย มหาดเล็กเวรสิทธิ์ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ไปประจำกรมราชเลขานุการในพระองค์ ตำแหน่งหุ้มแพรวิเศษ นายเวรอาลักษณ์ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายลิขิต สารสนอง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทดลองวิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยและสร้างดุสิตธานีขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้นายลิขิตสารสนอง (ชัพน์ บุนนาค) เป็นนคราภิบาลของดุสิตธานี ซึ่งตำแหน่งนี้น้อยคนมักที่จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ต่อมาทรงมีพระราชดำริให้คนไทยได้มีนามสกุล ได้คิดนามสกุลพระราชทานกว่า 6000 นามสกุลในขั้นต้น ได้ทรงเขียนบัตรนามสกุลพระราชทานนั้นเป็นลายพระหัตถ์ แต่เมื่อมากรายเข้า ได้ทรงมอบหมายให้มหาดเล็กใน กรมราชเลขาธิการเป็นผู้เขียน ทูลเกล้าฯ ถวายขึ้นไปเพื่อลงพระปรมาภิไธย โปรดเกล้าฯ ให้นายลิขิต สารสนอง เป็นหนึ่งในสามคนที่ได้ฉลองพระเดชพระคุณในการนี้ พ.ศ.2468 ในสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้เป็นเลขาธิการ กรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก ต่อมาทางการได้ยุบเลิกตำแหน่งเลขาธิการนี้ นายลิขิต สารสนอง จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จตุรถาภรณ์มงกุฎไทย เบญจมาภรณ์ช้างเผือก เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น 5 เหรียญราชรุจิทอง และเข็มวชิราวุธข้าหลวงเดิม
พ.ศ.2524 บรรดาศิษย์เก่าโรงเรียนมหาดเล็กหลวงได้ร่วมกันจัดงานฉลองพระบรมราชสมภพครบ 100 ปีของรัชกาลที่ 6 นายลิขิตสารสนอง ได้รับมอบหมายให้จัดแสดงละครพระราชนิพนธ์ เรื่อง หัวใจนักรบ อันเป็นบทละครพระราชนิพนธ์ที่วรรณคดีสมาคมได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ประกาศนียบัตรว่าเป็นยอดของละครพูด นายลิขิตสารสนองได้พยายามทำงานนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ได้รับเงินบริจาคการกุศลมาสมทบทุนสร้างหอวชิราวุธานุสรณ์ เป็นจำนวนหลายหมื่นบาท นายลิขิตสารสนองถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2524 รวมอายุ 86 ปี นายลิขิตสารสนอง (ชัพน์ บุนนาค) ได้สมรสกับนางลิขิตสารสนอง (เชียด บุนนาค) ธิดาหลวงวิชิตสุรไกร (ไชยมงคล บุนนาค) มีบุตรธิดา 12 คน บุตรได้แก่ ไชยยนต์ สนธิยา ชวเลข เฉกชัพน์ รับวงศ์ อิทธิพงศ์ (พงศ์สอง) วิชชา ทวีศักดิ์ จักรกฤษณ์ และชูศักดิ์ นับเป็นลำดับชั้นที่ 7 ลูกเสือไทยคนแรกคือใคร