Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประวัติ ลูกเสือไทย ลูกเสือโลก สรุปย่อเข้าใจง่าย มีที่มาอย่างไร

ลูกเสือไทย ลูกเสือโลก ประวัติลูกเสือไทย เริ่มต้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2454 หลังจากประวัติลูกเสือโลกก่อตั้งเพียง 4 ปีเท่านั้น เริ่มแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนิสัยในการสังเกต เชื่อฟัง และพึ่งพาตนเอง โดยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต

Read More »

ลูกเสือไทย มีกี่ประเภท

ลูกเสือไทย มีกี่ประเภท ไม่ว่าประเทศใดในโลกที่มีกิจการลูกเสือของตน จะมีการแบ่งประเภทเอาไว้เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการขององค์การลูกเสือโลก ซึ่งบางอยางอาจถูกปรับเปลี่ยนไปบางตามลักษณะสังคม วัฒนธรรม ของแต่ละประเทศ แต่โดยภาพรวมแล้วจะแบ่งประเภทลูกเสือตามเกณฑ์อายุ ด้วยการที่คำนึงถึงพัฒนาการทางรางกาย และจิตใจของเด็กเป็นพื้นฐานในการฝึกอบรม เพื่อไม่ให้ฝืนธรรมชาติของเด็ก ซึ่งสามารถทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมากแล้วทั่วโลกจะมีการแบงประเภทลูกเสือเป็น

Read More »

ลูกเสือไทยคนแรกคือใคร

ลูกเสือไทยคนแรกคือใคร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความ เห็นพ้องกันกับ บี.พี. จึงได้ทรงเริ่มตั้งกองลูกเสือขึ้น หลังจากตั้งกองเสือเสือป่าได้เพียงสองเดือน คือ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง

Read More »

ประวัติลูกเสือโลก

ประวัติลูกเสือโลก โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden – Powell) หรือมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ และรู้จักกันดีในวงการลูกเสือในนาม บี.พี. (B.P.) คือผู้ที่ให้กำเนิดกิจการลูกเสือ (SCOUT) ขึ้นมาในโลกใบนี้ การกำเนิดของลูกเสือไม่ได้เกิดขึ้นเพียงข้ามคืน แต่บ่มเพาะอยู่ในตัวของท่าน บี.พี. มาอย่างยาวนาน

เมื่ออายุได้ 19 ปี ท่านได้เข้าร่วมกับกองทหารม้าของอังกฤษไปประจำอยู่ที่อินเดีย ความสามารถอันโดดเด่นด้านการใช้ชีวิตกลางแจ้งของท่าน แสดงให้เห็นจากการที่ท่านได้รับรางวัลการล่าหมูป่าบนหลังมาด้วยหอกเล่มเดียว (Pig Sticking) ซึ่งเป็นกีฬาที่อันตราย และได้รับความนิยมอย่างมาก

บี.พี. มีพี่น้อง 7 คน อยู่กับมารดา โดยกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ในวัยเด็กของท่านแสดงให้เห็นถึงนิสัยรักผจญภัย และชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง ท่านมักจะเดินทางไกลไปพักแรมร่วมกับพี่น้องของท่านตามที่ต่าง ๆ ในอังกฤษ ชอบท่องเที่ยวในป่ารอบโรงเรียน ซุ่มดูสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังเป็นผู้รักษาประตูมือดี และเป็นนักแสดงละครที่ได้รับความนิยมในโรงเรียน รวมทั้งรักดนตรี และวาดภาพอีกด้วย

ในปี ค.ศ. 1887 บี.พี. ได้ไปประจำการอยู่ในแอฟริกา ซึ่งต้องรบกับชนเผ่าพื้นเมืองที่ป่าเถื่อนดุร้าย ไม่ว่าจะเป็น ซูลู อาซันติ หรือมาตาบีลี และด้วยความสามารถของท่านในการสอดแนม การสะกดรอย รวมทั้งความกล้าหาญของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่หวาดกลัวของบรรดาชนพื้นเมืองจนถึงกับตั้งฉายาท่านว่า “อิมปีซ่า” (Impeesa) หมายความว่า “หมาป่าผู้ไม่เคยหลับนอน” และด้วยความสามารถของท่าน ทำให้ท่านได้เลื่อนยศอย่างรวดเร็ว

ในปี ค.ศ. 1889 อังกฤษมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐทรานสวาล พันเอก เบเดน-โพเอลล์ ได้รับคำสั่งให้นำทหารม้าสองกองพันเดินทางไปป้องกันเมืองมาฟอีคิง ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะตั้งอยู่ใจกลางของแอฟริกาใต้ ที่นี่เองเป็นสถานที่ที่ทำให้ท่านได้รับชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ในการรักษาเมืองไว้จากเงื้อมมือของข้าศึกที่ล้อมอยู่ด้วยกำลังมากกว่าอย่างมหาศาลไว้ได้ถึง 217 วัน จนกระทั่งกองทหารของอังกฤษได้บุกเข้าไปช่วยเหลือเป็นผลสำเร็จ

หลังจากศึกคราวนี้ ท่านได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และได้รับการนับถือจากชาวอังกฤษให้เป็นวีรบุรุษ

ในปี ค.ศ. 1901 บี.พี. เดินทางกลับไปยังอังกฤษ และด้วยชื่อเสียงของท่านในฐานะวีรบุรุษ ทำให้หนังสือที่ท่านเขียนขึ้นเพื่อให้ทหารอ่าน ชื่อ “Aids to Scoutting” หรือ “การสอดแนมเบื้องต้น” ได้รับความนิยมจนกระทั่งนำไปใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนชายมากมาย

จุดนี้เอง ทำให้ บี.พี. เกิดประกายความคิดถึงโอกาสที่จะพัฒนาเด็กอังกฤษให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง เพราะถ้าหนังสือสำหรับผู้ใหญ่เกี่ยวกับการปฏิบัติการสอดแนม สามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ ถ้าท่านทำหนังสือสำหรับเด็กโดยเฉพาะก็คงจะได้ผลมากยิ่งขึ้น

บี.พี. จึงเริ่มศึกษาเรื่องราวของการฝึกอบรมเด็กจากทุกยุคทุกสมัย และนำประสพการณ์ในอินเดีย และแอฟริกา มาดัดแปลง และค่อย ๆ พัฒนาความคิดเกี่ยวกับการลูกเสืออย่างช้า ๆ ด้วยความระมัดระวัง จนกระทั่งฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1907 ท่านจึงได้รวบรวมเด็กยี่สิบคน ไปพักแรมกับท่านที่เกาะบราวซี (Brownsea) ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือครั้งแรกของโลก และประสพผลสำเร็จอย่างงดงาม

ต้นปี ค.ศ. 1908 บี.พี. ได้จัดพิมพ์คู่มือการฝึกอบรมขึ้น แบ่งออกเป็นหกตอนในชื่อ “Scoutting for Boys” หรือ “การสอดแนมสำหรับเด็ก” ซึ่งมีภาพประกอบที่เขียนโดยตัวท่านเองอยู่ด้วย เมื่อหนังสือเริ่มวางจำหน่าย แม่แต่ตัวท่านเองก็ไม่นึกไม่ฝันว่า มันจะเป็นจุดที่ทำให้เกิดกองลูกเสือขึ้นมากมาย ไม่เฉพาะในอังกฤษเท่านั้น แต่แพร่หลายไปในหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย กฎของลูกเสือ

เมื่อกิจการลูกเสือเติบโตขึ้น บี.พี. ได้มองเห็นโอกาสที่จะได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ ด้วยการใช้การลูกเสือบ่มเพาะเด็กรุ่นใหม่ให้เป็นพลเมืองดี แทนที่จะต้องมาฝึกผู้ใหญ่ให้เป็นทหาร ท่านจึงได้ลาออกจากกองทัพในปี ค.ศ. 1910 ขณะที่มียศพันโท เพื่อเดินเข้าสู่ชีวิตที่ท่านเรียกว่า “ชีวิตที่สอง” (Second Life) ที่ให้บริการโลกใบนี้ด้วยกิจการลูกเสือ และได้รับผลรางวัลเป็นความรักและนับถือจากลูกเสือทั่วโลก

เมื่อ บี.พี. มีอายุครบ 80 ปี กำลังของท่านก็เริ่มทรุดลง ท่านได้กลับไปพักผ่อนในช่วงบั้นปลายชีวิตในแอฟริกาที่ท่านรัก และถึงแก่กรรมในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1941 เมื่อมีอายุ 84 ปี

 

ค.ศ. 1907 – มีการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือเป็นครั้งแรก ที่เกาะบราวซี

ค.ศ. 1908 – หนังสือ Scoutting for Boys ตีพิมพ์ และเริ่มกำเนิดกองลูกเสือขึ้นในหลายประเทศ

ค.ศ. 1909 – จัดตั้งสำนักงานลูกเสืออังกฤษ และมีการชุมนุมลูกเสืออังกฤษเป็นครั้งแรก

ค.ศ. 1910 – จัดตั้งกองลูกเสือหญิง (Birl Guide) โดยมีแอกนีส น้องสาวของ บี.พี. เป็นหัวหน้า

ค.ศ. 1911 – จัดตั้งกองลูกเสือสมุทร

ค.ศ. 1912 – บี.พี. เดินทางไปเยี่ยมลูกเสือในประเทศต่าง ๆ รอบโลก

ค.ศ. 1914 – เกิดสงครามโลกครั้งแรก บี.พี. มอบลูกเสือให้ทำหน้าที่ช่วยทหาร เช่น รักษาสะพาน และสายโทรศัพท์ ทำหน้าที่ผู้สื่อข่าว ช่วยงานในโรงพยาบาล

ค.ศ. 1916 – จัดตั้งกองลูกเสือสำรอง กฎหมายของลูกเสือ

ค.ศ. 1918 – จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout)

ค.ศ. 1919 – ตั้งกิลเวลล์ปาร์ด (Gilwell Park) และเริ่มดำเนินการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นวูดแบดจ์

ค.ศ. 1920 – มีการชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ บี.พี. ได้รับเลือกให้เป็นประมุขของคณะลูกสือโลก (Chief Scout of the World)

ค.ศ. 1922 – บี.พี. เขียนหนังสือ “Rovering to Success” หรือ “การท่องเที่ยวสู่ความสำเร็จ” ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับลูกเสือวิสามัญ

ค.ศ. 1926 – จัดตั้งกองลูกเสือพิการ

ค.ศ. 1937 – บี.พี. ได้รับพระราชธานบรรดาศักดิ์เป็น Lord Baden Powell of Gilwell

ค.ศ. 1941 – บี.พี. ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี

ปี ค.ศ. 1912 บี.พี. เดินทางรอบโลกไปพบปะกับลูกเสือในประเทศต่าง ๆ และเริ่มต้นเสริมสร้างการเป็นพี่น้องกันของลูกเสือทั่วโลก น่าเสียดายที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้งานนี้ต้องหยุดชงักลงชั่วขณะ แต่ก็เริ่มสานต่อหลังจากสงครามสิ้นสุดลง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1920 ก็ได้จัดให้มีการชุมนุมลูกเสือระหว่างประเทศขึ้นในกรุงลอนดอน

ซึ่งถือเป็นการชุมนุมลูกเสือโลกเป็นครั้งแรก (1st World Jamboree) และในคืนวันสุดท้ายของการชุมนุม บรรดาลูกเสือที่เข้าร่วมชุมนุมก็ร่วมกันประกาศให้ บี.พี. ดำรงตำแหน่งประมุขของคณะลูกสือโลก (Chief Scout of the World) และเมื่อกิจการลูกเสือดำเนินมาครบ 21 ปี พระเจ้ายอร์ชที่ 5 ก็ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ท่านเป็นขุนนาง มีชื่อยศว่า Lord Baden Powell of Gilwell ประวัติลูกเสือโลก