ประวัติ ลูกเสือไทย ลูกเสือโลก สรุปย่อเข้าใจง่าย มีที่มาอย่างไร

ลูกเสือไทย ลูกเสือโลก ประวัติลูกเสือไทย เริ่มต้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2454 หลังจากประวัติลูกเสือโลกก่อตั้งเพียง 4 ปีเท่านั้น เริ่มแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนิสัยในการสังเกต เชื่อฟัง และพึ่งพาตนเอง โดยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์ ตลอดจนรู้รักษาและส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ ลูกเสือไทย ลูกเสือโลก ย้อนรอยประวัติลูกเสือไทย สรุปย่อเข้าใจง่าย ลูกเสือไทย ลูกเสือโลก ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทย โดยมีกองลูกเสือแรกของไทยคือ กองลูกเสือโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรียนวชิราวุธ ทั้งนี้ ประวัติลูกเสือไทยยุคต่างๆ แบ่งได้ดังนี้ ประวัติลูกเสือไทยยุคก่อตั้ง (พ.ศ. 2454-2468) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งกองเสือป่าในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ทรงสถาปนาลูกเสือไทย พร้อมพระราชทานคำขวัญว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์” ในขณะเดียวกันได้มีการส่งคณะผู้แทนลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือไทยครั้งที่ […]

ลูกเสือไทย มีกี่ประเภท

ลูกเสือไทย มีกี่ประเภท ไม่ว่าประเทศใดในโลกที่มีกิจการลูกเสือของตน จะมีการแบ่งประเภทเอาไว้เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการขององค์การลูกเสือโลก ซึ่งบางอยางอาจถูกปรับเปลี่ยนไปบางตามลักษณะสังคม วัฒนธรรม ของแต่ละประเทศ แต่โดยภาพรวมแล้วจะแบ่งประเภทลูกเสือตามเกณฑ์อายุ ด้วยการที่คำนึงถึงพัฒนาการทางรางกาย และจิตใจของเด็กเป็นพื้นฐานในการฝึกอบรม เพื่อไม่ให้ฝืนธรรมชาติของเด็ก ซึ่งสามารถทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมากแล้วทั่วโลกจะมีการแบงประเภทลูกเสือเป็น 2 แบบใหญ่ คือแบบอังกฤษ ซึ่งถือเอาฃแบบแผนตามที่ BP เคยปฏิบัติเอาไว้ กับแบบอเมริกา ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนไปเล็กน้อย สำหรับประเทศไทยนั้นยึดถือตามแบบอังกฤษ คือ ลูกเสือสำรอง เนตรนารีสำรอง ลกเสือสามัญ เนตรนารีสามัญ ลกเสอสามัญรุ่นใหญ่ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือวิสามัญ เนตรนารีวิสามัญ แต่ที่พิเศษประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มี ลูกเสือชาวบ้าน หมายเหตุ * การกล่าวถึงลูกเสือประเภทต่างๆนั้น จะหมายรวมเอาเนตรนารีเข้าไปด้วย เพราะเนตรนารีได้ถูกระบุตามกฎหมายว่าเป็น ลูกเสือหญิง (เด็กนักเรียนหญิงที่มีชั้นปีการศึกษาและอายุตามเกณฑ์ในการเป็นลูกเสือ) จะต่างกันที่เครื่องแบบ และวิชาการฝึกบางวิชาเท่านั้น * ลูกเสือหญิง ที่แท้จริงแล้วคือระดับผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ที่ต้องผ่านการฝึกอบรมตามขั้นตอน สวนมากเป็นคร, อาจารย์ของโรงเรียนที่มีกองลูกเสือตั้งอยู่ หรือบุคคลภายนอก (ประชาชนที่สนใจ) ที่เข้ารับการอบรมเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ลูกเสือ ด้วยการสมัครจนผ่านการอบรม จากนั้นจึงจะได้การรับรองโดยคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ […]

ลูกเสือไทยคนแรกคือใคร

ลูกเสือไทยคนแรกคือใคร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความ เห็นพ้องกันกับ บี.พี. จึงได้ทรงเริ่มตั้งกองลูกเสือขึ้น หลังจากตั้งกองเสือเสือป่าได้เพียงสองเดือน คือ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง บัดนี้เป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย พระราชทานคติพจน์ให้แก่คณะลูกเสือแห่ชาติว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ลูกเสือคนแรกคือ “นายชัพพ์ บุนนาค” เพราะเป็นผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือได้เป็นคนแรก จึงมีพระราชโองการว่า “อ้ายชัพพ์เองเป็นลูกเสือแล้ว” นายชัพน์ บุนนาค หรือ นายลิขิต สารสนอง เป็นบุตร นายฉ่า บุนนาค มารดาชื่อ ทองสุก เกิด พ.ศ.2438 มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน มีน้องสาวชื่อ ชิ้ม (เกิด พ.ศ.2440) เป็นภรรยาพระดุลยกรณ์พิทารณ์ (เชิด บุนนาค) น้องชายชื่อ ชิวห์ เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 และนายเฉียบ บุนนาค (เกิด พ.ศ.2450) เป็นข้าราชการ […]

กฎหมายของลูกเสือ

กฎหมายของลูกเสือ คำปฏิญาณ คือ คำมั่นสัญญาที่ลูกเสือได้ให้ไว้แก่ผู้บังคับบัญชาต่อหน้าแถว หรือในพิธีการทางลูกเสือเป็นหลักสากลที่ลูกเสือทุกคนต้องปฏิบติเช่นเดียวกันหมด ลูกเสือจะต้องจดทำคำปฏิญาณให้ได้ และต้องพยายามปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณอย่างเต็มความสามารถหรือให้ดีที่สุด กฎหมายของลูกเสือ คำปฏิญาณของลูกเสือ กฎหมายของลูกเสือ ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า ข้อ 1) ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ 2) ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ข้อ 3) ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ กฎของลูกเสือ มี  10 ข้อ ข้อ 1 ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ ข้อ 2 ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรง         ต่อผู้มีพระคุณ ข้อ 3 ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น ข้อ 4 ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก ข้อ 5 ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย ข้อ 6 ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ ข้อ 7 […]

ประวัติลูกเสือโลก

ประวัติลูกเสือโลก โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden – Powell) หรือมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ และรู้จักกันดีในวงการลูกเสือในนาม บี.พี. (B.P.) คือผู้ที่ให้กำเนิดกิจการลูกเสือ (SCOUT) ขึ้นมาในโลกใบนี้ การกำเนิดของลูกเสือไม่ได้เกิดขึ้นเพียงข้ามคืน แต่บ่มเพาะอยู่ในตัวของท่าน บี.พี. มาอย่างยาวนาน เมื่ออายุได้ 19 ปี ท่านได้เข้าร่วมกับกองทหารม้าของอังกฤษไปประจำอยู่ที่อินเดีย ความสามารถอันโดดเด่นด้านการใช้ชีวิตกลางแจ้งของท่าน แสดงให้เห็นจากการที่ท่านได้รับรางวัลการล่าหมูป่าบนหลังมาด้วยหอกเล่มเดียว (Pig Sticking) ซึ่งเป็นกีฬาที่อันตราย และได้รับความนิยมอย่างมาก บี.พี. มีพี่น้อง 7 คน อยู่กับมารดา โดยกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ในวัยเด็กของท่านแสดงให้เห็นถึงนิสัยรักผจญภัย และชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง ท่านมักจะเดินทางไกลไปพักแรมร่วมกับพี่น้องของท่านตามที่ต่าง ๆ ในอังกฤษ ชอบท่องเที่ยวในป่ารอบโรงเรียน ซุ่มดูสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังเป็นผู้รักษาประตูมือดี และเป็นนักแสดงละครที่ได้รับความนิยมในโรงเรียน […]

กฎของลูกเสือ สามัญ กฎของลูกเสือสามัญ10ข้อ คําปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญ

กฎของลูกเสือ คำปฏิญาณ  คือ  คำมั่นสัญญาที่ลูกเสือได้ให้ไว้แก่ผู้บังคับบัญชาต่อหน้าแถวในพิธีเข้าประจำ กอง  หรือพิธีการของลูกเสือด้วยความจริงใจหรือสมัครใจ การกล่าวคำปฏิญาณทุกครั้ง  ลูกเสือควรตั้งใจกล่าวคำปฏิญาณด้วยความจริงใจ  และต้องปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณที่ได้กล่าวไว้ให้ได้ด้วย  คำปฏิญาณมีดังนี้ “ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า ข้อ  ๑  ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์ ข้อ  ๒  ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ข้อ  ๓  ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ” กฎของลูกเสือ ความหมายของคำปฏิญาณทั้ง  ๓  ข้อ กฎของลูกเสือ ข้อ  ๑  ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  ลูกเสือจะต้องมีความศรัทธา  เชื่อมั่นในชาติ  ศาสนา  และพระมหากษัตริย์ของตน  เคารพเทิดทูนทั้ง  ๓  สถาบันด้วยความซื่อสัตย์ ข้อ  ๒  ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ  ลูกเสือจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นในทุกโอกาส  ทุกสถานการณ์  เท่าที่จะทำได้  โดยเริ่มตั้งแต่ครอบครัว  จนถึงสังคมภายนอก ข้อ  ๓  ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ  ลูกเสือต้องปฏิบัติตนตามกฎ  ๑๐  ข้อ  ของลูกเสือซึ่งเป็นหลักยึดเหนี่ยวให้ลูกเสือปฏิบัติแต่สิ่งดีงาม […]