Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประวัติ ลูกเสือไทย ลูกเสือโลก สรุปย่อเข้าใจง่าย มีที่มาอย่างไร

ลูกเสือไทย ลูกเสือโลก ประวัติลูกเสือไทย เริ่มต้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2454 หลังจากประวัติลูกเสือโลกก่อตั้งเพียง 4 ปีเท่านั้น เริ่มแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนิสัยในการสังเกต เชื่อฟัง และพึ่งพาตนเอง โดยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต

Read More »

ลูกเสือไทย มีกี่ประเภท

ลูกเสือไทย มีกี่ประเภท ไม่ว่าประเทศใดในโลกที่มีกิจการลูกเสือของตน จะมีการแบ่งประเภทเอาไว้เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการขององค์การลูกเสือโลก ซึ่งบางอยางอาจถูกปรับเปลี่ยนไปบางตามลักษณะสังคม วัฒนธรรม ของแต่ละประเทศ แต่โดยภาพรวมแล้วจะแบ่งประเภทลูกเสือตามเกณฑ์อายุ ด้วยการที่คำนึงถึงพัฒนาการทางรางกาย และจิตใจของเด็กเป็นพื้นฐานในการฝึกอบรม เพื่อไม่ให้ฝืนธรรมชาติของเด็ก ซึ่งสามารถทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมากแล้วทั่วโลกจะมีการแบงประเภทลูกเสือเป็น

Read More »

ลูกเสือไทยคนแรกคือใคร

ลูกเสือไทยคนแรกคือใคร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความ เห็นพ้องกันกับ บี.พี. จึงได้ทรงเริ่มตั้งกองลูกเสือขึ้น หลังจากตั้งกองเสือเสือป่าได้เพียงสองเดือน คือ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง

Read More »

กฎของลูกเสือ สามัญ กฎของลูกเสือสามัญ10ข้อ คําปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญ

กฎของลูกเสือ คำปฏิญาณ  คือ  คำมั่นสัญญาที่ลูกเสือได้ให้ไว้แก่ผู้บังคับบัญชาต่อหน้าแถวในพิธีเข้าประจำ กอง  หรือพิธีการของลูกเสือด้วยความจริงใจหรือสมัครใจ
การกล่าวคำปฏิญาณทุกครั้ง  ลูกเสือควรตั้งใจกล่าวคำปฏิญาณด้วยความจริงใจ  และต้องปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณที่ได้กล่าวไว้ให้ได้ด้วย  คำปฏิญาณมีดังนี้
“ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า
ข้อ  ๑  ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์
ข้อ  ๒  ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ  ๓  ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ”

กฎของลูกเสือ ความหมายของคำปฏิญาณทั้ง  ๓  ข้อ

กฎของลูกเสือ ข้อ  ๑  ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  ลูกเสือจะต้องมีความศรัทธา  เชื่อมั่นในชาติ  ศาสนา  และพระมหากษัตริย์ของตน  เคารพเทิดทูนทั้ง  ๓  สถาบันด้วยความซื่อสัตย์
ข้อ  ๒  ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ  ลูกเสือจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นในทุกโอกาส  ทุกสถานการณ์  เท่าที่จะทำได้  โดยเริ่มตั้งแต่ครอบครัว  จนถึงสังคมภายนอก
ข้อ  ๓  ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ  ลูกเสือต้องปฏิบัติตนตามกฎ  ๑๐  ข้อ  ของลูกเสือซึ่งเป็นหลักยึดเหนี่ยวให้ลูกเสือปฏิบัติแต่สิ่งดีงาม

ลูกเสือควรปฏิบัติต่อชาติ ดังนี้

๑)  ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีหมั่นศึกษาหาความรู้ใส่ตัว
๒)  ไม่ประพฤติตนผิดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี  วัฒนธรรม  และกฎหมายของบ้านเมือง
๓)  เป็นผู้ประกอบอาชีพสุจริต  มีความซื่อสัตย์
๔)  รักและหวงแหนแผ่นดินถิ่นเกิดของตน  เป็นผู้เสียสละและกล้าหาญ

ลูกเสือควรปฏิบัติต่อศาสนา  ดังนี้

๑)  ปฏิบัติกิจทางศาสนาตามจารีตประเพณีที่ตนนับถือด้วยใจบริสุทธิ์
๒)  ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ
๓)  ไม่แสดงอาการลบหลู่ศาสนาอื่น
๔)  ละเว้นการประพฤติชั่วกระทำแต่ความดี
๕)  เข้าร่วมพิธีทางศาสนาตามเวลา  และโอกาสอันควร

ลูกเสือควรปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์  ดังนี้

๑)  แสดงความเคารพต่อพระองค์ท่าน  และพระบรมฉายาลักษณ์
๒)  ไม่กระทำการใดๆ  ที่จะส่งผลให้เสื่อมเสียพระเกียรติคุณ  และต้องช่วยป้องกันไม่ให้คนอื่นกระทำด้วยเช่นกัน

กฎของลูกเสือสามัญ

กฎ  คือ  ข้อกำหนดสำหรับเป็นแนวทางให้ลูกเสือนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจนเกิดเป็นนิสัยประจำตัว
กฎของลูกเสือมี  ๑๐ ข้อ ดังนี้
ข้อ  ๑  ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
ข้อ  ๒  ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ
ข้อ  ๓  ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น
ข้อ  ๔  ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคน  และเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่งโลก
ข้อ  ๕  ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
ข้อ  ๖  ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
ข้อ  ๗  ลูกเสือต้องเชื่อฟังคำสั่งของบิดา  มารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
ข้อ  ๘  ลูกเสือมีใจร่าเริง  ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
ข้อ  ๙  ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
ข้อ  ๑๐  ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย  วาจา  ใจ

ความหมายของกฎ  ๑๐  ข้อ

ข้อ  ๑  ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ ลูกเสือจะต้องยึดมั่นในความซื่อสัตย์  ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา  กระทำตนให้เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้
ข้อ  ๒  ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ  ลูกเสือจะปกป้องสถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และยึดมั่นในความซื่อสัตย์  กตัญญูต่อผู้มีพระคุณทุกท่าน
ข้อ  ๓  ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น ลูกเสือจะต้องพร้อมอยู่เสมอที่จะบำเพ็ญประโยชน์  และเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้
ข้อ  ๔  ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคน  และเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก  ลูกเสือจะต้องมีใจโอบอ้อมอารี  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ทุกคน  โดยไม่เลือเชื้อชาติ  ศาสนา  และปฏิบัติต่อเขาเหมือนญาติพี่น้อง
ข้อ  ๕  ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย ลูกเสือจะต้องเป็นผู้มีกิริยาวาจาสุภาพ  อ่อนโยน  อ่อนน้อมมีความสัมมาคาราวะต่อบุคคลทั่วไป
ข้อ  ๖  ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์  ลูกเสือจะต้องมีใจเมตตากรุณา  สงสารสัตว์  ไม่รังแกหรือทรมานสัตว์  หรือเมื่อพบสัตว์บาดเจ็บต้องให้การช่วยเหลือ
ข้อ  ๗  ลูกเสือ เชื่อฟังคำสั่งของบิดา  มารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ  ลูกเสือจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอน  คำชี้แนะ  ของบิดามารดา  ครูอาจารย์  และผู้บังคับบัญชาด้วยความเต็มใจ  และเคารพ
ข้อ  ๘  ลูกเสือมีใจร่าเริง  ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก  ลูกเสือจะต้องมีความร่าเริง  ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ  ถึงแม้จะตกอยู่ในความยากลำบาก  ก็จะไม่แสดงอาการย่อท้อให้เห็น
ข้อ  ๙  ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์  ลูกเสือจะต้องรู้จักประหยัดทรัพย์ทั้งของตนเองและผู้อื่นไม่สุรุ่ยสุร่าย
ข้อ  ๑๐  ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย  วาจา  ใจ  ลูกเสือจะต้องรู้จักสำรวม  และระวังกาย  วาจา  ใจ  ไม่ให้มีความอิจฉาริษยา  มีความบริสุทธิ์ใจต่อทุกคน กฎของลูกเสือ